หากพูดถึงอาหารญี่ปุ่นคงมีหลายคนนึกถึง ซูชิ ราเมง หรือเทมปุระ และบางคนอาจกังวลว่าถ้าไปอยู่ญี่ปุ่นจะได้กินแต่อาหารญี่ปุ่นไหมนะ ยิ่งกว่านั้นสำหรับคนที่ทานอาหารบางประเภทไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าแพ้หรือทางศาสนาก็อาจจะยิ่งกังวลเรื่องอาหารการกินที่ญี่ปุ่น เราจึงได้ไปถามชาวต่างชาติที่มีประสบการณ์ทำงานที่ญี่ปุ่นเกี่ยวกับเรื่องอาหารโดยผ่านแบบสำรวจและการสัมภาษณ์
Contents
อยู่ที่ญี่ปุ่นจะได้ทานอาหารญี่ปุ่นทุกมื้อไหม
คุณ Anarbayar Renchinkhorol ที่มาจากประเทศมองโกเลียเล่าว่า “ที่ญี่ปุ่นไม่ได้มีแต่อาหารญี่ปุ่น ฉันเองไม่เคยเจอชาวต่างชาติที่มีปัญหาเรื่องอาหารการกินเมื่อมาอยู่ที่ญี่ปุ่น บางคนอาจจะมีความคิดว่าที่ญี่ปุ่นคงมีแต่ปลา ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย กลับกันถ้าคุณเดินไปในเมืองที่ญี่ปุ่น คุณจะเจอร้านอาหารหลายประเภท ที่ร้านสะดวกซื้อหรือซูเปอร์มาร์เก็ตเองก็มีของกินหลากหลายประเภทวางขายอยู่ ฉันเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะมาจากประเทศอะไรบนโลก คุณจะต้องได้เจอรสชาติที่ถูกปากคุณ นอกจากนี้ อาหารญี่ปุ่นเองก็มีหลายเมนูและอร่อยมาก คุณควรลองทานไปเรื่อยๆ”
ซื้อวัตถุดิบทำอาหารได้ที่ไหน
เหมือนว่าคุณ Mani Gyawali ที่มาจากประเทศเนปาลก็ค่อนข้างพอใจเรื่องอาหารการกินที่ญี่ปุ่น เขาบอกว่า “วัตถุดิบส่วนมากซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต มีซูเปอร์บางที่ก็ขายวัตถุดิบของต่างประเทศด้วย มันเลยสะดวกมาก แต่ว่าหลายร้านจะปิดเวลา 2-3 ทุ่ม ถ้าไปไม่ทันผมก็จะไปซื้อของเท่าที่จำเป็นที่ร้านสะดวกซื้อซึ่งเปิด 24 ชั่วโมง ผมจะเลือกวัตถุดิบและเครื่องปรุงที่ทำให้รสชาติเหมือนอาหารที่ประเทศผม เวลาที่หาซื้อตามซูเปอร์ใกล้ๆไม่ได้ ผมก็จะสั่งซื้อจากเว็บไซต์ขายของ ในเว็บไซต์ขายของที่ญี่ปุ่นมีของหลายๆอย่างจากประเทศอื่นอยู่ มันเลยสะดวกกับการใช้ชีวิตมาก”
มารยาทในการทานอาหารญี่ปุ่น
การทานอาหารญี่ปุ่นก็มีมารยาทหลายๆอย่างเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ มีผู้สูงอายุจำนวนมากในสถานบริบาลจึงไม่เสียเปล่าหากคุณจะรู้มารยาทในการทานอาหารที่ถูกต้องไว้
・คำทักทายในมื้ออาหาร : ก่อนทานอาหารให้พนมมือและพูดว่า “Itadaki masu (อิตะดะกิมะสุ)” เมื่อทานเสร็จก็พูดว่า “Gochiso sama deshita (โกะชิโซ ซะมะ เดะชิตะ)”
・วิธีจับตะเกียบ : ใช้มือข้างที่ถนัดถือตะเกียบขึ้นมา ใช้มืออีกข้างช่วยประคองและจับตะเกียบให้ถนัด ปัจจุบันมีการอธิบายด้วยวิดีโอมากมาย ลองค้นหาว่า “How to use chopsticks” นอกจากนี้การปักตะเกียบลงไปในข้าวเป็นเรื่องผิดมารยาท
・การเสิร์ฟอาหาร : การเสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นก็มีกฎเกณฑ์มากมาย หนึ่งในนั้นที่ควรจำคือ ในสำรับอาหารตรงหน้า ข้าวต้องอยู่ทางซ้ายและซุปมิโสะอยู่ทางขวา หากวางสลับกันจะเป็นการเสิร์ฟอาหารให้กับผู้ตาย
ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ผิดมารยาทในต่างประเทศก็อาจไม่ใช่เรื่องผิดที่ญี่ปุ่น เช่น การทานเสียงดังเวลาดื่มชาหรือทานซุปมิโสะ โซบะหรือราเมงไม่ถือว่าผิดมารยาทที่ญี่ปุ่น หากคุณเห็นคนญี่ปุ่นสูดเส้นทานกันเสียงดังก็อย่าตกใจ!
ข้างต้นนี้เป็นการแนะนำเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น มารยาทในการทานอาหารญี่ปุ่นยังมีรายละเอียดและจำนวนอีกมาก อาจจะเป็นเรื่องดีหากทำการศึกษาก่อนไปญี่ปุ่นและไปเรียนรู้ในทางปฏิบัติ
มีปัญหาเรื่องอาหารการกินจากเรื่องศาสนาบ้างไหม
คุณ Riswanti จากประเทศอินโดนีเซียที่เคยทำงานที่สถานบริบาลในจังหวัดเฮียวโงะเล่าว่า “ก่อนมาญี่ปุ่นฉันกังวลเรื่องอาหารการกินมาก เพราะฉันนับถือศาสนาอิสลามเลยไม่สามารถทานบางอย่างได้ ฉันกังวลอยู่ว่าจะหาซื้ออาหารฮาลาลได้ไหม หรือจะไปซื้อได้ที่ไหน ความกังวลเหล่านั้นคลี่คลายได้จากการที่ได้รุ่นพี่ชาวอินโดนีเซียที่ทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นมาเล่าให้ฟัง ที่ญี่ปุ่นมีร้านอาหารฮาลาลอยู่หลายร้าน แถมยังมีร้านขายของกินนำเข้าจึงไม่แทบมีปัญหาเรื่องการกินเลย”
นอกจากนี้ คุณ Mani Gyawal จากเนปาลยังบอกว่า “ที่ร้านอาหาร หากคุณบอกสิ่งที่ทานไม่ได้กับเขาก่อน มีหลายร้านที่จะทำให้คุณโดยไม่ใส่สิ่งนั้น พวกเขาใจดีมาก แต่บางทีเมนูที่ร้านอาหารญี่ปุ่นจะเขียนไว้ยากๆ มีหลายครั้งที่ผมก็มีปัญหาเพราะไม่รู้รายละเอียดของอาหารนั้น”
เมื่อปี 2013 อาหารญี่ปุ่นได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากองค์การยูเนสโกในฐานะวัฒนธรรมทางอาหารแบบดั้งเดิมของคนญี่ปุ่น หากคุณได้ไปใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น ขอให้คุณลองทานอาหารญี่ปุ่นให้มากขึ้น อาจมีร้านอาหารบางร้านที่ยังเขียนแต่เมนูภาษาญี่ปุ่น ให้ถือว่าเป็นการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น ตามภูมิภาคต่างๆของญี่ปุ่นก็มีอาหารท้องถิ่นมากมาย มาเติม “อาหาร” เข้าไปเป็นหนึ่งในสิ่งที่ตั้งตารอในการไปญี่ปุ่นกันเถอะ!