system-th

แรงงานทักษะเฉพาะทางด้านดูแลบริบาลคืออะไร

ในเดือนเมษายน ปี 2019 ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดสถานภาพการพำนักสำหรับแรงงานทักษะเฉพาะทางขึ้นใหม่เป็นสถานภาพการพำนักที่ให้บุคลากรต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญหรือทักษะเฉพาะทางสามารถทำงานใน 14 อุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงงานด้านดูแลบริบาล เพื่อตอบสนองต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เพิ่มขึ้น

สถานภาพการพำนักนี้มี 2 ประเภท คือ ทักษะเฉพาะทาง (i)  และทักษะเฉพาะทาง (ii) การดูแลบริบาลจะเป็นทักษะเฉพาะทาง (i) เท่านั้น

ทักษะเฉพาะทาง (i) ด้านดูแลบริบาล

ในการขอสถานะแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง (i) ด้านดูแลบริบาล ไม่จำเป็นต้องมีประวัติการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพียงแค่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปก็สามารถยื่นขอได้ แต่จะต้องผ่าน “การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล” เพื่อทดสอบทักษะด้านการดูแลบริบาล นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขว่าต้องผ่านการสอบประเมินความรู้ภาษาญี่ปุ่น โดยผ่าน “การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น” หรือ “การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (ระดับ N4 ขึ้นไป)” และผ่าน “การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล” ซึ่งเป็นการวัดทักษะภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับการทำงานด้านดูแลบริบาล

 

โดยทั่วไปสถานะประเภทนี้จะไม่รับรองการพำนักของครอบครัว (กรณีที่ครอบครัวเดินทางมาอาศัยที่ญี่ปุ่นด้วยกัน) โดยพื้นฐานอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นได้เป็นเวลา 1 ปี แต่สามารถต่ออายุได้ทุก 6 เดือนหรือ 4 เดือนและขยายได้สูงสุด 5 ปี ในกรณีที่ได้รับวุฒิผู้ดูแลบริบาลที่ได้รับการรับรองภายใน 5 ปี และทำการเปลี่ยนสถานภาพการพำนักก็จะสามารถทำงานได้ตลอดไปและพาครอบครัวมาอาศัยอยู่ด้วยกันได้

สำหรับสถานที่ทำงาน หากต้องการ จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ตอบรับหรือองค์กรสนับสนุนที่ได้รับการจดทะเบียนจึงวางใจได้ หากมีการเปลี่ยนงานก็สามารถเปลี่ยนไปยังบริษัทอื่นที่มีงานด้านดูแลบริบาลเช่นเดียวกันได้

การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล

การสอบประเมินทักษะเฉพาะทางสำหรับงานด้านดูแลบริบาลมีทั้งหมด 3 การสอบ คือ “การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล” “การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล” และการสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาญี่ปุ่น

การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาลและการสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาลเป็นการประเมินทักษะเฉพาะทางและความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นสำหรับการทำงานในด้านดูแลบริบาล โดยจะกำหนดมาตรฐานตามระดับความพร้อมในการทำงานของแต่ละสาขา

ส่วนการสอบวัดระดับมาตรฐานภาษาญี่ปุ่นจะวัดโดย “การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น” หรือ “การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น” (ต้องได้ระดับ N4 ขึ้นไป)

ทั้งนี้จะอธิบายถึงข้อสอบทั้ง 3 ตามลำดับต่อไปนี้:
การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation Test for Basic Japanese, ย่อ: JFT-Basic) และการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N4 ขึ้นไป
การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล
การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล

การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น

การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น (Japan Foundation Test for Basic Japanese, ย่อ: JFT-Basic) เป็นการวัดระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารในชีวิตประจำวันของชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศญี่ปุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าผู้สอบมีความสามารถในการสื่อสารระดับชีวิตประจำวันได้และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต

โครงสร้างของข้อสอบแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ “ตัวหนังสือและคำศัพท์” “บทสนทนาและสำนวน” “การฟัง” และ “การอ่าน” ในเบื้องต้นคำถามในข้อสอบจะแสดงเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สอบสามารถกดที่ปุ่ม Your Language เพื่อเลือกแสดงคำถามเป็นภาษาของตัวเองได้

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดเกี่ยวกับข้อสอบหรือวิธีการควบคุมหน้าจอในการสอบ กรุณาไปที่ลิงก์ด้านล่างนี้

การสอบพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่น (JFT-Basic) วิธีใช้ (Youtube)
ดูตัวอย่างข้อสอบ.
สามารถดูรูปแบบคำถาม เนื้อหา และระดับของแต่ละหมวดหมู่ได้ในตัวอย่างคำถามรูปแบบ CBT

*สำหรับผู้ที่ต้องการทดสอบการควบคุมหน้าจอการทำงานของ CBT แนะนำให้เปิดดูด้วยคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้อาจมีจุดที่แตกต่างไปจากหน้าคำถามที่ใช้จริง

การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น

การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเป็นการสอบวัดและรับรองความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของผู้ที่ไม่ได้มีภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ N1 ระดับ N2 ระดับ N3 ระดับ N4 และระดับ  N5 โดยระดับที่ง่ายที่สุดคือระดับ N5 และระดับที่ยากที่สุดคือระดับ N1

สำหรับแรงงานทักษะเฉพาะทางด้านการดูแลบริบาลกำหนดว่าต้องสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานคือการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับ N4 ขึ้นไป

ดูเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสำหรับแต่ละระดับ

ดูตัวอย่างคำถามระดับ N4
ตรวจสอบวันและสถานที่จัดสอบ

การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล

การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาลเป็นการสอบเพื่อประเมินว่าผู้สอบสามารถเข้าใจคำศัพท์ที่ใช้ในงานดูแลบริบาลได้หรือไม่ เวลาในการสอบทั้งหมด 30 นาที มีคำถามทั้งหมด 15 ข้อ โดยแบ่งเป็น คำศัพท์ด้านการดูแลบริบาล (5 ข้อ) บทสนทนาและการพูดคุยในการดูแลบริบาล (5 ข้อ) และประโยคที่ใช้ในการดูแลบริบาล (5 ข้อ)

ดูตัวอย่างข้อสอบ

การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล

การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาลเป็นการสอบเพื่อวัดมาตรฐานความสามารถในการฝึกการดูแลบริบาลสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ใช้บริการตามทักษะและวิธีคิดพื้นฐานของงานดูแลบริบาล เวลาในการสอบทั้งหมด 60 นาที มีคำถามทั้งหมด 45 ข้อ ประกอบด้วยแบบทดสอบภาคทฤษฎี 40 ข้อและแบบทดสอบการปฏิบัติ 5 ข้อ

แบบทดสอบภาคทฤษฎี 40 ข้อ
พื้นฐานการดูแลบริบาล (10 ข้อ)
กลไกของร่างกายและจิตใจ (6 ข้อ)
เทคนิคการพูดคุยสื่อสาร (4 ข้อ)
เทคนิคการให้ความช่วยเหลือในการใช้ชีวิต (20 ข้อ)

แบบทดสอบการปฏิบัติ 5 ข้อ
คำถามภาคปฏิบัติในลักษณะแบบทดสอบการตัดสินใจ
*ในข้อสอบจะแสดงภาพเพื่อใช้ในการพิจาณาเกี่ยวกับขั้นตอนการดูแลบริบาลที่ถูกต้อง

ดูตัวอย่างข้อสอบ
ดูรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการสอบ

กรณีที่ได้รับยกเว้นการสอบ

ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นในฐานะผู้สมัครเป็นผู้ดูแลบริบาลที่ได้รับการรับรองซึ่งมายังประเทศญี่ปุ่นภายใต้กรอบ EPA (Economic Partnership Agreement) (เฉพาะประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม) และเคยได้รับการจ้างงานหรือฝึกอบรบอย่างเหมาะสมในสถานบริบาลเป็นเวลา 4 ปี หรือชาวต่างชาติที่สำเร็จการฝึกงานทางเทคนิค (ii) จะได้รับพิจารณาว่ามีทักษะเฉพาะทางและทักษะทางภาษาญี่ปุ่นตามมาตรฐานที่จำเป็น จึงได้รับการยกเว้นการสอบประเมินทักษะและการสอบประเมินทักษะทางภาษาญี่ปุ่นที่กล่าวถึงก่อนหน้า และสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นแรงงานทักษะเฉพาะทาง (i) ได้ อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่สำเร็จการฝึกงานทางเทคนิค (ii) นอกเหนือจากงานดูแลบริบาลจะได้รับการยกเว้นการสอบวัดระดับมาตรฐานทักษะทางภาษาญี่ปุ่นส่วนหนึ่ง (จำเป็นต้องสอบ “การสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล” และ “การสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล”) 

ดูเกี่ยวกับผู้สมัครเป็นผู้ดูแลบริบาลที่ได้รับการรับรองใน EPA

วิธีการสมัครสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาลและสอบประเมินทักษะการดูแลบริบาล

เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการมีการแนะนำเกี่ยวกับระบบของแรงงานทักษะเฉพาะทางและแนะนำขั้นตอนการสมัครสอบ (มีการลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของบริษัท Prometic ซึ่งเป็นผู้จัดสอบ)

*รายละเอียดของสถานที่สอบแต่ละแห่งสามารถดูได้ที่ “รายชื่อสถานที่สอบ” ด้านล่างนี้ สำหรับรายละเอียดสถานที่สอบในต่างประเทศสามารถเข้าดูได้หลังทำการเลือกประเทศที่ต้องการเข้าสอบ

*ตารางวันสอบจะมีการอัพเดทเป็นระยะ แนะนำให้ทำการรีเฟรชหน้าด้วยตัวเองหลังจากเปิดเข้า URL เพื่อเข้าถึงข้อมูลล่าสุด

การเรียนเตรียมสอบภาษาญี่ปุ่นและการดูแลบริบาล

การเรียนเตรียมสอบเพื่อขอสถานภาพพำนักแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง (i) ด้านดูแลบริบาล นอกจากการศึกษาด้วยตัวเองจากหนังสือเรียนต่างๆแล้ว ยังมีวิธีเข้าเรียนในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย ในบทความนี้เราจะเน้นสำหรับผู้ที่ทำการศึกษาด้วยตัวเอง โดยจะแนะนำหนังสือเรียนและเว็บไซต์ที่น่าสนใจ

วิธีการเรียนภาษาญี่ปุ่น

ไม่เพียงเพื่อการสอบทักษะเฉพาะทางเท่านั้นแต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการมาใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น เมื่อลองถามชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ที่ญี่ปุ่นว่าพวกเขาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันอย่างไร คุณ Dio จากประเทศอินโดนีเซียก็ตอบว่า “ผมเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยการดูอนิเมะแล้วเขียนคำศัพท์จากในนั้นใส่ในสมุดทีละคำและท่องจำคำพวกนั้น” (DIO from Indonesia).

เจแปนฟาวน์เดชั่นก็มีการเผยแพร่สื่อการเรียนเหล่านี้เพื่อช่วยให้คุณเตรียมสอบ JFT-Basic เอกสารทั้งหมดนี้เป็นเอกสารฟรีที่ให้คุณใช้ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้

IRODORI (อิโระโดะริ) ภาษาญี่ปุ่นในการดำรงชีวิต

หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นIRODORI ภาษาญี่ปุ่นในการดำรงชีวิตเป็นสื่อการเรียนเพื่อพัฒนาการสื่อสารภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อชาวต่างชาติที่ต้องการทำงานหรือใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น มีการหยิบยกสถานการณ์หรือหัวข้อต่างๆ ที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในญี่ปุ่น คุณสามารถเรียนรู้การสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้จริง ในแต่ละบทจะแสดงวัตถุประสงค์ของบทเรียนในแบบ Can-do เพื่อกำหนดสิ่งที่คุณจะสามารถทำได้เมื่อเรียนบทนั้นไว้ให้ชัดเจน

 

JF Japanese e-Learning Minato

 Japanese learning platform แพลตฟอร์มสำหรับการเรียนภาษาญี่ปุ่นของเจแปนฟาวน์เดชั่นที่มีคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นมากมาย (กว่า 150 คอร์สต่อปี) เพียงแค่สมัครสมาชิกก็สามารถเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต และยังมีการลิงก์ไปถึงเว็บไซต์และแอปพลิเคชันการเรียนภาษาญี่ปุ่นอื่นๆ

หนังสือเตรียมสอบทักษะการดูแลบริบาลและทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล

เราขอแนะนำหนังสือเรียนเพื่อการสอบประเมินทักษะสำหรับแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง (i) ด้านการดูแลบริบาลซึ่งจัดทำโดยสมาคมผู้บริบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น (องค์กรสาธารณะประโยชน์ประเภทสมาคม) นอกจากฉบับภาษาญี่ปุ่นแล้วยังมีแปลไปอีกกว่า 9 ภาษา นอกจากจะเหมาะกับการใช้เตรียมสอบประเมินทักษะด้านการดูแลบริบาลและสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาลแล้ว ยังมีเนื้อหาที่นำไปใช้ในสถานที่ทำงานดูแลบริบาลได้จริงอีกด้วย

หนังสือเรียนสำหรับการสอบประเมินทักษะเฉพาะทางด้านการดูแลบริบาล:
https://aft.kaigo-nihongo.jp/rpv/

เว็บไซต์เรียนภาษาญี่ปุ่นด้านการดูแลบริบาล “Nihongo o Manabou / เรียนภาษาญี่ปุ่นกัน”

เว็บไซต์การเรียนออนไลน์ “Nihongo o Manabou / เรียนภาษาญี่ปุ่นกัน” ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมผู้บริบาลแห่งประเทศญี่ปุ่น (องค์กรสาธารณะประโยชน์ประเภทสมาคม) จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการดูแลบริบาลและภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นในสถานที่ทำงานดูแลบริบาล (ประมาณระดับ N3) เราขอแนะนำเพราะคุณสามารถไปเรียนได้ฟรี

เว็บไซต์ส่งเสริมบุคคลากรนานาชาติด้านการดูแลบริบาล “Nihongo o Manabou / เรียนภาษาญี่ปุ่นกัน”:
https://aft.kaigo-nihongo.jp/rpv/

ความพร้อมของระบบการสนับสนุนจากฝั่งญี่ปุ่น

เพื่อให้ชาวต่างชาติมาทำงานดูแลบริบาลที่ญี่ปุ่นได้อย่างสบายใจ หลายภาคส่วนอย่างสถานบริบาล องค์กรในอุตสาหกรรม รัฐบาลท้องถิ่นและประเทศญี่ปุ่นต่างให้การสนับสนุน ไม่เพียงแต่การทำงานบริบาลเท่านั้น แต่ให้การสนับสนุนในหลากหลายด้าน รวมถึงปัญหาด้านภาษาและพื้นฐานการดำรงชีวิตด้วย

10 หัวข้อสนับสนุน (ณ เดือนก.ย. ปี2020)

สถานภาพการพำนักสำหรับแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อเดือนเมษายน ปี 2019 ได้กำหนดให้องค์กรที่ตอบรับต้องจัดทำแผนการสนับสนุน เมื่อจะรับชาวต่างชาติที่มีทักษะเฉพาะทาง (i) และมีการกำหนด 10 หัวข้อสนับสนุนที่จำเป็นในแผนการนั้นไว้ โดยหัวข้อเหล่านั้นสรุปได้ดังต่อไปนี้ (สำหรับรายละเอียด https://www.meti.go.jp/press/2019/08/20190809002/20190809002-1.pdf)

[1] สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง, “เกี่ยวสถานภาพการพำนักแรงงานทักษะเฉพาะทาง” (ภาษาญี่ปุ่น)

1. การแนะนำก่อนเดินทาง
2. การรับส่งเมื่อเดินทางเข้าออกประเทศญี่ปุ่น
3. การสนับสนุนสัญญาที่จำเป็นสำหรับการประกันที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิต
4. การอบรบเรื่องการใช้ชีวิต
5. การดำเนินเรื่องทางราชการ
6. การให้โอกาสในการเรียนภาษาญี่ปุ่น
7. การตอบรับคำปรึกษาและข้อร้องเรียน
8. การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนกับคนญี่ปุ่น
9. การสนับสนุนการเปลี่ยนงาน (กรณีลดจำนวนบุคลากร เป็นต้น)
10. การสัมภาษณ์และรายงานต่อหน่วยงานราชการเป็นประจำ

3 ความช่วยเหลือเพื่อผู้บริบาลชาวต่างชาติ

เราได้ยกบางส่วนในประเด็นเกี่ยวกับการรับชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในญี่ปุ่นมาจากหนังสือคู่มือซึ่งจัดทำในโครงการสำรวจและวิจัยสถานการณ์การยอมรับบุคลากรด้านการดูแลบริบาลต่างชาติ[2] ในโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการประจำปีงบประมาณ 2019 เป็นการแสดงแก่ภาคธุรกิจเพื่อให้ทุกท่านสามารถมาญี่ปุ่นและทำงานได้เป็นอย่างดี

1. การสนับสนุนเพื่อรักษาสภาพในสถานที่ทำงาน (ตัวอย่าง)
องค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่นกำลังดำเนินการเตรียมความพร้อมหลายอย่างเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานได้อย่างอุ่นใจและยาวนาน ตัวอย่างเช่น

  1. แจ้งวัตถุประสงค์ในการรับชาวต่างชาติให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า
  2. ทำขั้นตอนการทำงานดูแลบริบาลให้เป็นมาตรฐานและแก้ไขการใช้ภาษา
  3. สอนกฎพื้นฐานของที่ทำงานในญี่ปุ่น
  4. ทำความเข้าใจวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้บริบาลชาวต่างชาติ

[2] Mitsubishi UFJ Research and Consulting Co., Ltd., “คู่มือเกี่ยวกับการยอมรับและสนับสนุนการทำงานผู้บริบาลชาวต่างชาติ” (ภาษาญี่ปุ่น)

2. การสนับสนุนการเตรียมพื้นฐานในการดำรงชีวิต (ตัวอย่าง)  
สถานประกอบการต่างๆ กำลังสร้างระบบสนับสนุนไม่เพียงแต่ในที่ทำงานแต่รวมถึงในด้านการดำเนินชีวิตเพื่อให้ชาวต่างชาติคุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นโดยเร็วที่สุด

  1. สนับสนุนการเตรียมสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การจัดหาที่อยู่อาศัย การสนันสนุนเรื่องสัญญา การให้ยืมเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า การสนับสนุนการดำเนินการเรื่องโทรศัพท์มือถือ การเตรียมสภาพที่พร้อมสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
  2. ให้ความรู้เรื่องอาหารและการซื้อของ การใช้ห้องน้ำและห้องอาบน้ำ การไปโรงพยาบาลและการซื้อยา การใช้รถไฟและรถประจำทาง กฎการทิ้งขยะและมารยาทในการใช้เสียง
  3. ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการเรื่องวีซ่า การลงทะเบียนผู้อยู่อาศัย การเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพและการชำระเงิน
  4. เตรียมการสนันสนุนการตรวจสภาพร่างกายและสภาพจิตใจ

3. การสนับสนุนเพื่อการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนท้องถิ่น (ตัวอย่าง)
นอกจากนี้ยังมีการเตรียมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชาวต่างชาติและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงสถานประกอบการ ตัวอย่างเช่น การเชิญผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงมาร่วมกิจกรรม หรือการให้เจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

การสนับสนุนต่างๆ จากภาครัฐ

เราจะขอแนะนำบริการที่ผู้ทำงานบริบาลชาวต่างชาติสามารถใช้บริการได้บางส่วน มีบริการต่างๆ ที่ช่วยให้คุณมาทำงานที่ญี่ปุ่นได้อย่างอุ่นใจ

The International Welfare Corporation (JICWELS)

เคาท์เตอร์ให้คำปรึกษาบุคลากรต่างชาติด้านการดูแลบริบาลให้การสนับสนุนเพื่อให้บุคลากรด้านการดูแลบริบาลชาวต่างชาติรู้สึกประทับใจในการทำงานในสถานบริบาลของญี่ปุ่น ได้รับประสบการณ์ ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ และสามารถทำงานได้อย่างอุ่นใจ
งานแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานและศึกษาด้านการดูแลบริบาลนอกจากกิจกรรมที่สร้างโอกาสในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรต่างชาติด้านการดูแลบริบาลแล้ว ยังให้คำปรึกษาปัญหาด้านการทำงานเกี่ยวกับงานบริบาล ปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวันและปัญหาการใช้ชีวิตในสังคมแก่บุคลากรต่างชาติด้านการดูแลบริบาลอีกด้วย

The Japan Association of Certified Care Workers

เว็บไซต์ส่งเสริมบุคลากรนานาชาติด้านการดูแลบริบาล “Nihongo o Manabou / เรียนภาษาญี่ปุ่นกัน”คือแพลตฟอร์มบูรณาการสำหรับชาวต่างชาติที่ศึกษาและทำงานด้านการดูแลบริบาลของญี่ปุ่น ให้การสนับสนุนการพัฒนาทักษะภาษาญี่ปุ่นและด้านอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งทักษะที่จำเป็นในการทำงานที่สถานบริบาล เหนือสิ่งอื่นใดผู้เรียนต้องฝักใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการเรียน โดยแพลตฟอร์ม “Nihongo o Manabou / เรียนภาษาญี่ปุ่นกัน” ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การนั้นไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น (ในระดับ N3) และทักษะพื้นฐานด้านการดูแลบริบาล นอกจากนี้ยังมีคู่มือเตรียมสอบสำหรับการสอบแต่ละประเภท เนื้อหาสำหรับผู้สอน รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลในช่องทางโซเชียลมีเดียและสร้างพื้นที่สื่อสารแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ใช้อีกด้วย และยังสามารถดูหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อการดูแลบริบาลและหนังสือเรียนการสอบประเมินทักษะเฉพาะทางด้านการดูแลบริบาลได้เช่นกัน
นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังมีการแปลเป็นภาษาอื่นอีกถึง 9 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาเขมร ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาเนปาล ภาษามองโกล ภาษาเมียนมาร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาจีนและภาษาไทย

กระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการ

ข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) 
“Multilingual information”ในส่วน “多言語情報 (Multilingual information)” จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโรค COVID-19 ในภาษาต่างๆ (สามารถดาวน์โหลดโปสเตอร์และแผ่นพับในภาษาเวียดนาม ภาษาไทย ภาษาตากาล็อก ภาษาอินโดนีเซียและภาษาเนปาลได้)
・ในส่วน “がいこくじんのみなさんへ しごとやせいかつのしえんについて” จะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในญี่ปุ่น โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นอย่างง่ายหรืออาจมีการแปลเป็นภาษาอื่นๆ

กรุงโตเกียว

แผ่นพับระบบการประกันการดูแลบริบาล ฉบับเดือนเมษายน ปี 2018แม้จะเป็นข้อมูลสำหรับชาวโตเกียว แต่มีการเผยแพร่แผ่นพับฉบับเดือนเมษายน ปี 2018 ในภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาเกาหลี
Scroll to Top